วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ไมเกรน....เคมีในสมองไม่ปกติ
@ อาการปวดศีรษะจากความเครียด มักเป็นแบบปวดซีกใดซีกหนึ่ง หรือทั่วทั้งศีรษะ ปวดต่อเนื่อง มักมีอาการเจ็บบริเวณคอและหลังส่วนบน ร่วมกับอาการหน้ามืด ตาลาย และเวียนศีรษะ
@ ปวดคลัสเตอร์ เป็นแบบตุ๊บซีกหนึ่งของศีรษะ วันละหลายครั้ง อาจต่อเนื่องหลายเดือน
@ ไมเกรน มักปวดตุ๊บๆ เริ่มต้นที่ขมับหรือตาข้างหนึ่ง จากนั้นลามไปทั้งซีก หรือ 2 ข้าง
มักมีคลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสงจ้า ร่วมด้วย
@ อาจมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เช่น เห็นแสงสว่างวาบๆ หรือเห็นเป็นคลื่น มีอาการเจ็บแปลบ ตาพร่า เวียนศีรษะ และมีเสียงก้องในหู เหงื่อออก หนาว อ่อนเพลีย ใบหน้าบวม โกรธฉุนเฉียวง่าย ทนเสียงดังหรือแสงจ้าวูบวาบไม่ได้
@  พบในหญิง : ชาย = 3:1 เป็นในช่วงอายุ 25 – 55 ปี โดยพันธุกรรมมีส่วนร่วม
สาเหตุ ไมเกรนอยู่ในประเภทที่มีอาการปวดศีรษะ โดยไม่พบพยาธิสภาพ แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พอสรุปได้ว่าไมเกรนน่าจะเกิดจากความผิดปกติของก้านสมองคอร์เท็กซ์ ซึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มของแคลเซียม กลูตาเมท และการลดลงของแมกนีเซียม การกระตุ้นเส้นประสาทสมองที่ 5 (Trigeminal Nerve) หรือหลอดเลือด การทำงานที่ผิดปกติของก้านสมองและส่วนกลาง รวมถึงเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีประวัติไมเกรนในครอบครัว
90% เกิดจากความเครียด
เซลล์ในสมองเป็นผู้หลั่งสารระงับอาการปวด gamma–aminobutyric acid–GABA หากเซลล์สมองเสื่อมสภาพบกพร่องในหน้าที่ ย่อมทำให้อาการปวดกำเริบ
การมีโรคของหลอดเลือดในสมอง บริเวณ thalamus ส่วนหลัง ครึ่งซีกของด้านตรงข้ามรอยโรค ก่อให้เกิดลักษณะปวดเป็นพักๆ ที่เรียก thalamic pain
ผลจากการขยายและหดตัวผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดในสมองมีการหดเกร็ง และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เรียกซีโรโทนิน ซึ่งหากลดลงมีผลให้ปวดมากขึ้น
โครงสร้างที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด ได้แก่ ในส่วนของสมอง หลอดเลือด เส้นประสาท สมองคู่ที่ 5, 7, 9, 10 ตลอดจน C2 และ C3 รวมไปถึงโครงสร้างภายนอกโพรงกระโหลกศีรษะ ได้แก่ ผิวหนัง หนังศีรษะ ตา หู ไซนัส ช่องปาก ฟัน ลำคอ กล้ามเนื้อ พังผืด (fascia)
หัวใจขาดเลือด ก็เป็นเหตุให้เกิดปวดศีรษะได้
สาเหตุร่วม เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความเครียด ระดับฮอร์โมนเปลี่ยน เช่น ช่วงใกล้มีประจำเดือน หมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ ใช้ยาคุม อากาศเปลี่ยน อุณหภูมิ แสงส่องจ้า กลิ่นรุนแรง ควันไฟ ควันบุหรี่ ซึมเศร้า อดนอน ยาบางชนิด อาการขาด caffeine

อาการปวดศีรษะที่ควรพบแพทย์
มีอาการปวด หลังจากศีรษะกระทบกระแทกของแข็ง แล้วมีอาการตาพร่ามัว หรืออาเจียน ในเวลาต่อมา
เป็นพร้อมไข้ คอแข็งเกร็ง สับสน พูดตะกุกตะกัก แขนขาอ่อนแรง
ชาริมฝีปาก ลิ้น หน้า พูดจาตะกุกตะกัก อาเจียน วิงเวียน อ่อนแรง

การรักษา ขณะปวดรุนแรง สารเสริมอาหารมักช่วยได้น้อยมาก ต้องใช้ยาระงับปวดโดยแพทย์
ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อไมเกรนได้แก่ ยา ในกลุ่มเออร์กอท (ergot) หรือ ทริพแทน (triptan) แต่ไม่ควรใช้ร่วมกัน ห้ามใช้ในโรคความดันสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง โรคตับ ไต ภาวะติดเชื้อ เออร์กอทยังห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร
การกินยาแอสไพริน หรือยาระงับปวดต่างๆ จะบั่นทอน แทรกแซง ความสามารถในการต่อสู้กับความเจ็บปวดตามธรรมชาติของร่างกาย อาจทำให้อาการปวดศีรษะถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น อีกทั้งมีโอกาสติดยาได้
การกดจุด ฝังเข็ม โดยผู้ชำนาญก็เป็นการแพทย์ทางเลือก ที่อาจช่วยได้

แนวทางพึ่งตนเอง เพื่อลด เลี่ยงการใช้ยา
แมกนีเซียม เป็นสารสำคัญที่ขาดไม่ได้ หากเกิดการขาดแมกนีเซียม หรือวิตามินบี 6 ทำให้การสร้างซีโรโทนินขาดไป ส่งผลให้เส้นเลือดขยายตัว ไปกระตุ้นเซลล์ประสาท  ปวด มีการศึกษาบ่งชี้ว่า แมกนีเซียมอาจช่วยป้องกันไมเกรนได้ดี
อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว ธัญพืช ขนาดที่แนะนำคือ 6 mg/kg/d
Ca 1000 mg/d ก็พบว่าช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ดี
B2 (Riboflavin) เมื่อร่างกายขาดจะทำให้เสียการปลดปล่อยพลังงานสำรอง จากคาร์โบฮัยเดรท พบว่าการเสริม B2 ขนาด 400 mg/d เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดความถี่ของระยะเวลาการปวดไมเกรนได้
B3 (Niacin) ก็มีรายงานผลช่วยลดอาการปวดไมเกรน มักให้ร่วมกับแมกนีเซียม
B5 (Pantothenic acid) และวิตามิน C ช่วยเสริมการผลิตฮอร์โมนต้านความเครียด (Catecholamine) ซึ่ง
ในภาวะเครียดมีการใช้วิตามินซี และ B5 มาก
B6 เป็นสารจำเป็นต้องใช้สร้างซีโรโทนินร่วมกับ Mg ดังกล่าวแล้ว การเสริมช่วงก่อนมี รอบเดือน 5 – 10 วัน พบว่าช่วยเพิ่ม ซีโรโทนิน ช่วยลดอาการปวด
การขาด Folic ก็ก่อให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้
ธาตุเหล็ก นั้น หากขาดไปก็ปวดหัวได้
น้ำมันปลา n3 ลดความรุนแรงและความถี่ของการปวดได้ หากขาดทำให้เสียความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นที่มาของการหดเกร็ง ปวดนั่นเอง
CoQ10 มีงานวิจัยจาก Cleavland Headache Center ในสหรัฐ พบว่าการเสริม CoQ10 150 mg/d ช่วยลดความถี่ของไมเกรน งานวิจัยในสวิทเซอร์แลนด์ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ในการให้ CoQ10 100 mg วันละ 3 ครั้ง
เก๊กฮวย งานวิจัยพบว่า สารสกัดจากใบเก๊กฮวยแห้ง 125 mg/d ช่วยได้
ทริปโตแฟน เป็นสารอาหารที่ช่วยเพิ่มระดับซีโรโทนินในสมอง serotonin เป็นสารสื่อประสาทสมอง อาหาร คาร์โบฮัยเดรทเชิงซ้อน ช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟนได้
หากยังคลื่นไส้ก็ใช้ขิง (ช่วยทำให้ท้องไส้สบายขึ้น)
กลิ่นคาโมมาย ช่วยคลายเครียด บำรุงประสาท บรรเทาปวด
ร่วมกับการประคบอุ่นบริเวณคอ + ศีรษะ
ในยุโรป พบว่าสมุนไพร Feverfew และสารสกัดจากรากของ Butterbur (Petasites hybridus หรือ Petasites rhizoma) ก็ช่วยป้องกันไมเกรนได้
ผู้ป่วยไมเกรนควรดื่มน้ำมากๆ ขนาด 30 cc/kg/d (โดยเฉพาะน้ำที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม) และออกกำลังกายพอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ
ชีวโมเลกุลเซลล์สมอง ต่อมไพเนียล หัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนการใช้ ENT (Electroneural Diagnosis and Therapy) ช่วยวินิจฉัยรักษา น่าจะมีบทบาทสำคัญในการร่วมซ่อมแซมเซลล์สมอง

  การออกกำลังกาย และ สมาธิบำบัด ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และอารมณ์ช่วยคลายเครียดการสูดหายใจเข้าลึกๆ เป็นการเพิ่มปริมาณ O2 นอกเหนือจากได้ภาวะสงบขณะสูดหายใจ

ควรหลีกเลี่ยง สิ่งกระตุ้น เช่น อาหารเครื่องดื่มบางชนิด โดยเฉพาะที่มีสารประกอบ amine ไทรามีน (Tyramine) เช่น เนยแข็ง หอมหัวใหญ่ ของหมักดอง ถั่วต่างๆ เนื้อย่าง รมควัน ของดอง ไวน์แดง เบียร์ ครีมเปรี้ยว ขนมอบซึ่งมียีสต์ผสม ไส้กรอก กล้วยสุก โดยสารไทรามีน ไปลดระดับซีโรโทนิน
ยังมีสารเจือปนในอาหารที่ควรเลี่ยง เป็นการสังเกตเฉพาะราย เช่น ดินประสิว ไนไทรต์ ผสมในเบคอน ฮอทดอก เนื้อหมัก ไส้กรอก แฮม อาหารรมควัน
นอกจากนี้ก็อาจเป็นพวกขนมปังใส่ยีสต์ ซุปก้อน
ซีอิ๊ว ปลาหมัก ถั่วปากอ้า เมล็ดถั่วลันเตา
ซัลไฟด์ เป็นสารที่ใช้หมักไวน์ + ผลไม้แห้ง
โมโนโซเดียมกลูตาเมต ผงชูรส ซึ่งอาจพบในขนมถุงทั้งหลาย
น้ำตาลเทียม Aspartam ก็อยู่ในข่ายต้องสงสัย













วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ธุรกิจหมอเส็งทำง่ายได้จริง



ธุรกิจหมอเส็งทำง่ายได้จริง
ทำง่ายเพราะ
1.สินค้าดีมีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูงสุด (อย. - ยาสาม้ญประจำบ้าน - GMP ฯลฯ )      2.สินค้าดีใช้แล้วได้ผล ประทับใจสูงสุด
3.ผลดีจากการใช้สินค้า  บุคคลอื่นเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จากตัวเรา มีความสนใจอยากใช้สินค้าตราหมอเส็ง เหมือนกับเรา เป็นผลให้เกิดการทำธุรกิจหมอเส็ง ต่อเนื่องทันที
4.ยา คือ 1 ในปัจจัย4 (สุขภาพมีปัญหาต้องทานยาจึงจะแก้ปัญหาสุขภาพได้ )
ธุรกิจ ธุรกิจ ธุรกิจ ทำไมต้องหมอเส็ง
1.ประธานหรือเจ้าของบริษัท ต้องดี
2.สถานที่ ต้องดี
3.สินค้า ต้องดี
4.ระบบการตลาด ต้องดี
5.ระบบความสัมพันธ์ ความผูกพันธ์ของสมาชิกในองค์กร ต้องดี
6.สมาชิกรับรายได้จริงทุกๆวัน รายได้ต้องดี
1.ประธานหรือเจ้าของบริษัท ต้องดี

-คุณหมอเส็ง ปัจจุบันอายุ 75 ปี คุณหมอเส็งเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการแพทย์แผนจีน ตั้งแต่่มีอายุเพียง 5-6 ขวบ จากคุณพ่อของท่าน  ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์ประจำตระกูลของท่านเอง และมีการสืบสานถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นหลายชั่วอายุคน มีประวัติและหลักฐานที่ตกทอดกันมาหลายร้อยปีตั้งแต่ยุคราชวงศ์ถังของประเทศจีน
-จากการที่คุณพ่อของคุณหมอเส็งเปิดร้านขายสมุนไพรและคลีนิครักษาผู้ป่วยที่ อ.แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา (ร้านฮกแซตึ๊ง)และมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงมีการเปิดบ้านให้เป็นที่พักแก่พระธุดงค์ที่เดินทางผ่านมา คุณหมอเส็งจึงได้เรียนรู้วิชาการแพทย์แผนไทยจากพระธุดงค์ตั้งแต่อายุยังน้อยด้วย
- คุณหมอเส็งเริ่มนั่งเก้าอี้เป็นคุณหมอ แทนคุณพ่อตั้งแต่อายุ 18 ปี และเป็นหมอสมุนไพรเพียงอาชีพเดียวติดต่อมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
- คุณหมอเส็งเป็นหมอที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข ถึง 2 ฉบับ ( สาขาเวชกรรม และ สาขาเภสัชกรรม )
-คุณหมอเส็งเป็นหมอสมุนไพรของไทยเพียงตนเดียว ที่ชาวต่างชาติยอมรับ และเดินทางมาให้คุณหมอเส็งตรวจสุขภาพและจัดยาให้กลับไปทานที่บ้าน รวมทั้งบุคคลระดับไฮโซของไทยจำนวนมาก แม้ว่าค่าตัวในการตรวจรักษาของท่านจะแพงที่สุดในประเทศไทยก็ตาม

บรรยากาศการตรวจสุขภาพฟรีโดย คุณหมอเส็ง ทุกๆวันอาทิตย์ ที่สำนักงานใหญ่หมอเส็ง รังสิต ซึ่งมีผู้คนมารอตรวจไม่น้อยกว่า 400 คน ต่อวัน
2.สถานที่ ต้องดี



-สำนักงานใหญ่หมอเส็ง มูลค่ากว่า 1000 ล้านบาท สร้างด้วยเงินสดของท่านเอง

ด้านหน้าสำนักงานใหญ่หมอเส็ง

โรงแรมมาตราฐาน 3ดาว อยู่หลังอาคารสำนักงานใหญ่ รองรับผู้ที่มาจากต่างประเทศ

ล็อบบี้ของโรงแรม

ต้านหลังของโรงแรม มีร้านอาหาร-อาพาทเมนต์

 และคฤหาสน์ของน้องโป๊ยเซียน

ภาพถ่ายจากดาวเทียม พื้นที่ทั้งหมดของสำนักงานใหญ่หมอเส็ง


- โรงงานผลิตยาสมุนไพรหมอเส็ง เป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในทวีปเอเซียในขณะนี้ และมีมาตราฐานการผลิตระดับโลก GMP  รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขและเป็นโรงงานของคุณหมอเส็งเอง สร้างด้วยเงินสดของท่านเองมูลค่ากว่า600ล้านบาท3.สินค้า ต้องดี 

                                                                                                                                            มีมาตราฐานความปลอดภัยสูงสุด และขึ้นทะเบียนยา ยาแผนโบราณ ตำรับ ยา สามัญประจำบ้าน 
ระดับความปลอดภัยมี 3 ระดับมาตราฐาน
1.มาตราฐานความปลอดภัย ฉลาก อย. (เป็นมาตราฐานความปลอดภัย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น ใช้รักษาโรค ป้องกันและบำบัดอาการของโรคไม่ได้ )
2.มาตราฐานความปลอดภัย ฉลาก ยาแผนโบราณ หรือ ยาแผนปัจจุบัน ใช้รักษาโรค ป้องกันและบำบัดอาการของโรคได้ แต่ผู้


บริโภคต้องใช้ภายใต้การดูแล และควบคุมจาก แพทย์ และ เภสัชกร เท่านั้น
3.มาตราฐานความปลอดภัย ฉลาก ยาสามัญประจำบ้าน  เป็นมาตราฐานความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้บริโภค ไม่เป็นอันตราย และไม่มีผลอากาารข้างเคียงจากการใช้ยา ไม่ต้องอาศัยการดูแล ควบคุมและการจัดจำหน่ายโดยแพทย์และเภสัชกร  บุคคลทั่วไปทุกสาขาทุกอาชีพสามารถจัดจำหน่ายได้


4.ระบบการตลาด ต้องดี
@มีการจัดการประชาสัมพันธ์ยาหมอเส็ง ในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่่อง มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตรงกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สมาชิกยาหมอเส็งที่ทำธุรกิจหมอเส็งสามารถจัดจำหน่ายยาหมอเส็งได้ง่ายขึ้นและมีการเจริญเติบโตในโลกของธุรกิจที่เร็วกว่าผลิตภัณฑ์เจ้าอื่นๆ




5.ระบบความสัมพันธ์ ความผูกพันธ์ของสมาชิกในองค์กร ต้องดี ระบบอัพไลน์และดาวน์ไลน์ ทำงานร่วมกันไปด้วยกัน และเกื้อกูลกัน และมีความเป็นครอบครัวเดียวกัน  และคุณหมอเส็ง(ประธานบริษัท )คอยให้การสนับสนุนแก่สมาชิกทุกๆคน อย่างใกล้ชิด เหมือนคนในครอบครัว
6.สมาชิกรับรายได้จริงทุกๆวัน รายได้ต้องดี

@,มีการจ่ายผลตอบแทนทุกวัน ตามกติกาและแผนการตลาดหมอเส็ง โดยจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำที่ 1000 - 20000 บาทต่อวัน และไม่ต้องรักษายอด
หนังสือเจ้าสัวแสนล้าน หนังสือที่รวบรวมชีวประวัติ วิธีคิดและวิธีทำงานของเจ้าสัวแสนล้านที่เป็นคนไทยทั้ง25คน ที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมไทย และคุณหมอเส็งคือ 1ใน25 เจ้าสัวแสนล้าน







วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ไมเกรน ปวดหัวสุดๆ ปวดไม่รู้เวลา ปวดหัวจนเสียสุขภาพจิต

 ไมเกรน (อังกฤษ: Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว จึงควรได้รับการวินิจฉัยแยกจากกลุ่มที่มีอาการคล้ายไมเกรน เช่น Cluster Headche, Tension Headche ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการกลัวแสงหรืออาการกลัวเสียงได้
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไมเกรน มีทั้งให้การรักษาแบบไม่ใช้ยาโดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับพยาธิกำเนิด ปัจจัยกระคุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต และการรักษาแบบใช้ยาโดยจำแนกออกเป็นยาป้องกันไมเกรนที่ต้องรับประทานทุกวันสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ 3 ครั้งต่อเดือน และยารักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน 

อาการแสดง

อาการปวดศีรษะไมเกรนมักจะปวดศีรษะครึ่งซีกแต่บางครั้งเป็นสองข้างก็ได้ โดยมักกินเวลาปวด 4-72 ชั่วโมงซึ่งมักจะมีการปวดตุ๊บๆและส่วนมากจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยรวมถึงอาจมีหรือไม่มีอาการนำทางสายตา เช่น เห็นแสงซิกแซก , แสงวาบ เป็นต้น โดยอาการปวดศีรษะไมเกรนแบ่งตามอาการนำได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
  1. Migraine without aura จะไม่มีอาการผิดปกติทางสายตานำมาก่อนการปวดศีรษะ มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  2. Migraine with aura จะมีอาการผิดปกติผิดปกตินำมาก่อนการปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงซิกแซก , แสงวาบ โดยมักจะอาการเหล่านี้ก่อนปวดศีรษะ ประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนั้นจะมีอาการเหมือน migraine without aura

[แก้]อาการทางคลินิก

แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะอาการนำ (Prodrome), ระยะออรา (aura), ระยะปวดศีรษะ, ระยะหายปวดศีรษะ (Resolution) และระยะภายหลังจากหายปวดศีรษะ (Postdrome) โดยอาการแสดงทางคลินิกผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกัน เช่น migraine without aura จะไม่พบระยะออรา เป็นต้น
  • ระยะอาการนำ (Prodome) - จะพบอาการภายใน 24 ชั่วโมงก่อนมีอาการปวดศีรษะ เช่น หงุดหงิด อาการหิว ท้องเดิน ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย เหม็นกลิ่นอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยที่ปวดศีรษะไมเกรนประมาณ 50% ของผู้ป่วยไมเกรน
  • ระยะออรา (aura) - จะพบอาการก่อนการปวดศีรษะประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบอาการผิดปกติทางสายตา เช่น เกิดจุดเมื่อมองวัตถุ เห็นภาพผิดขนาด เห็นภาพเพียงครึ่งเดียว แสงซิกแซก มองเห็นเป็นเส้นคลื่น ซึ่งจะอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยที่ปวดศีรษะไมเกรนประมาณ 20% ของผู้ป่วยไมเกรน
  • ระยะปวดศีรษะ - มีอาการปวดศีรษะแบบจุดๆ ส่วนใหญ่จะปวดข้างเดียวแต่ก็พบที่ปวดศีรษะทั้งข้างได้เช่นกัน โดยมักจะมีเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ ปวดกระบอกตา ปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง ซึ่งระยะมีระยะเวลา 4 - 72 ชั่วโมง
  • ระยะหายปวดศีรษะ (Resolution) - อาการปวดศีรษะมักจะหายไปหลังจากที่ได้พักผ่อน เช่น การนอนหลับ
  • ระยะภายหลังจากหายปวดศีรษะ (Postdrome) - หายจากอาการปวดศีรษะแต่ร่างกายมีอาการอ่อนล้า ศีรษะตื๊อๆ ความคิดไม่แล่น เฉยเมย จึงควรที่จะนอนพัก

[แก้]ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไมเกรน มีหลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละรายควรสังเกตว่าปัจจัยใดบ้างที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะในตัวเองซึ่งจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น ซึ่งปัจจัยกระตุ้นได้แก่
  • อาหาร - อาหารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่น คาเฟอีน, สารไทรามีนเช่น ชีส ผงชูรส (monosodium glutamate) ช็อกโกแลต สารที่ให้รสหวาน เช่น aspartame ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต และสารไนเตรทเช่น ไส้กรอก เป็นต้น
  • ระดับฮอร์โมน - ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น
  • สภาพร่างกาย - สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป และอดอาหาร เป็นต้น
  • การออกกำลังกาย - การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้
  • สภาวะแวดล้อม - สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น
  • ยาและสารเคมีบางชนิด - ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น



เส้นเลือดในสมองตีบ


อัมพฤกษ์อัมพาต เป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะเกรงกลัวกันมาก ซึ่งอาการดังกล่าวหมายถึง การที่แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง และมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อยสาเหตุของอาการดังกล่าวมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ ประมาณ80-90% ก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เหลือก็เป็นสาเหตุอื่นๆเช่น
     

 เนื้องอกในสมอง ฝีในสมองเป็นต้น


เส้นเลือดสมองตีบหมายถึงอะไร

เส้นเลือดสมองตีบเป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบ ไปด้วย 3 โรคหลักๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ แตก และ อุดตัน โดยที่เส้นเลือดสมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด(80-85%)

เส้นเลือดที่ตีบเกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมาก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้นๆ


มีอาการอย่างไรได้บ้าง
เนื่องจากสมองมีหลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่
  • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก)
  • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก
  • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา)
  • วียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง
โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดคือ เป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรือ
 


อาจเป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่

ใครมีโอกาสเป็นบ้าง

อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากแม้จะไม่100% ก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่
  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • โรคหัวใจบางชนิด

วินิจฉัยอย่างไร   

อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจทางทางระบบประสาท และการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ในบางรายหากสงสัยว่าอาจเป็นอย่างอื่น แพทย์ที่ตรวจอาจให้ตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) แทนการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์การทำ CT scan ของสมอง จะช่วยให้แยกได้ระหว่างเส้นเลือดตีบหรือแตก ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป




รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึงระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ถ้าผ่านไป2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงดีขึ้นมากพอสมควร ก็อาจบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มาก บางรายทำกายภาพบำบัดไป3-6 เดือน ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าที่ควร ก็อาจมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานหรืออาจไม่ดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก
ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง
ยาที่ใช้ในโรคนี้ ใช้เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ เนื่องจากถ้าเป็นครั้งหนึ่งแล้ว จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้ ยาที่สำคัญคือยาป้องกันเส้นเลือดตีบ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป ไม่ควรซื้อทานเองเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้
ยาที่มีความสำคัญมากอีกกลุ่มหนึ่ง คือยาที่ใช้คุมปัจจัยเสี่ยงในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ยาเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยเฉพาะการควบคุมอาหารที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ถ้าคุมโรคเหล่านี้ได้ดี โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะน้อยลงไปมาก
ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และการเลิกขึ้นอยู่กับจิตใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ
การทำกายภาพบำบัด มีส่วนสำคัญที่สุดในการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ส่วนที่อ่อนแรง กลับมามีแรงมากขึ้นได้ ส่วนยาที่ทาน จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ ดังนั้น แม้ทานยาครบ แต่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัด ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้เท่าที่ควร
 
สามารถป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้หรือไม่



เนื่องจากเป็นโรคที่ถ้าเป็นแล้ว มักไม่หายสนิท เหลือความพิการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย การป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรควบคุมโรคเหล่านั้นให้ดี ไม่ขาดยา ตั้งใจควบคุมอาหาร จะลดโอกาสการเป็นอัมพาตลงได้มาก รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงของมึนเมา
ควรตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 30-35ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะเราอาจมีโรคเหล่านั้นได้ เนื่องจากส่วนมากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว
หลักสำคัญๆ ได้แก่
  1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา พบแพทย์ตามนัด
  2. ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยอาจทำเองที่บ้านได้หลังจากออกจากโรงพยาบาล
  3. ให้กำลังใจผู้ป่วย เนื่องจากโรคนี้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสมากที่จะมีโรคซึมเศร้า หรือเครียดร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการที่เคยทำอะไรได้ แล้วมาทำไม่ได้
  4. ในรายที่เดินไม่ได้ นอนอยู่กับเตียง ต้องพลิกตัว จับนั่งบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นต้น ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะสอนการดูแลเหล่านี้ รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง(ถ้าต้องใส่) ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
ยาบำรุงร่างกายเบอร์ 2 ( กล่องเหลือง ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

อัลไซเมอร์จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย


โรคเสื่อม (อังกฤษDegenerative disease) หมายถึงโรคที่มีความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งอาจเกิดจากความชราของร่างกายตามปกติหรือจากชีวิตประจำวัน เช่น การไม่ออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โรคเสื่อมไม่สามารถติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งได้ จึงมักกล่าวว่าโรคเสื่อมตรงข้ามกับโรคติดเชื้อ

[แก้]ตัวอย่างของโรคเสื่อม

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)
  • อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส หรือ เอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis; ALS)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
  • Multiple system atrophy
  • โรคนีมานน์ พิค (Niemann Pick disease)
  • โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
  • Progressive supranuclear palsy
  • มะเร็ง
  • โรคเทย์-แซคส์ (Tay-Sachs Disease)
  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Disease; IBD)
  • โรคนอร์รี (Norrie disease)
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ
  • โรคข้อเสื่อม
  • ภาวะกระดูกพรุน
  • โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (Rheumatoid Arthritis)    

    โรคอัลไซเมอร์

    เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแลซึ่งมักจะเป็นคู่สมรสหรือญาติใกล้ชิด เป็นที่รับรู้ว่าโรคอัลไซเมอร์นั้นสร้างภาระให้แก่ผู้ดูแลอย่างมาก ทั้งในทางกายสังคม ทางจิต ทางสังคมและเศรษฐกิจ ในประเทศกำลังพัฒนาโรคนี้นับเป็นหนึ่งในโรคที่ก่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจต่อสังคมมากที่สุด
    โรคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (อังกฤษAlzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449(ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593
    ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการ อาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะแรกคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด  การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นทำได้ยากเนื่องจากระยะเวลาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินโรคของโรคนี้จะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการชัดเจน การคาดหมายคงชีพหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 7 ปี  มีผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 3 ที่มีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 14 ปีหลังได้รับการวินิจฉัย 
    สาเหตุและการดำเนินโรคของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีนักในปัจจุบัน งานวิจัยบ่งชี้ว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างคล้ายคราบในสมองที่เรียกว่าพลาก (plaque) และแทงเกิล (tangle)   การรักษาในปัจจุบันช่วยเกี่ยวกับอาการของโรคเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2551 มีการทดลองทางคลินิกมากกว่า 500 งานวิจัยเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สรุปว่าประสบความสำเร็จ  แม้มีวิธีต่างๆ มากมายที่เชื่อว่าป้องกันโรคอัลไซเมอร์แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยชะลอการดำเนินโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ แต่แนวทางแนะนำที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือการกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation) การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่ 

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

นิ้วล็อค

นิ้วล็อค นิ้วล็อค

นิ้วล็อค ภัยเงียบที่คุณควรรู้

นิ้วล็อค

  มือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของมนุษย์ หน้าที่พื้นฐานของมือมี 3 ประการ คือ การเคลื่อนไหว (หยิบจับสิ่งของ และประกอบการงาน) การรับความรู้สึกและการสื่อสาร (ทักทาย ภาษามือ) ความผิดปกติ หรือโรคที่เกิดขึ้นกับมือ อาจไม่ส่งผลโดยตรง ต่อการดำรงอยู่ของร่มนุษย์างกายเท่ากับสมอง หัวใจ หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ แต่มือที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ ทำให้คุณภาพของการดำรงชีวิต ของลดลงไปอย่างมาก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติ และโรคทางมือที่พบบ่อย อาจช่วยให้ผู้อ่าน สามารถทำการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา หรือรักษาเบื้องต้น ภาวะผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้ได

โรคข้อนิ้วงอติด หรือข้อนิ้วล็อค (Trigger's finger)
 เป็นผลจากการอักเสบที่เกิดขึ้นระหว่างปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้วมือนั้น ๆ ทางด้านฝ่ามือ การอักเสบจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น จึงทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไปได้ไม่สะดวก เกิดการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือ ถ้ามีอาการมากขึ้นจะพบว่า เมื่องอนิ้วมือเข้ามาจนสุดแล้ว จะมีเสียงดัก "กึ้ก" แล้วนิ้วจะติดงออยู่อย่างนั้น ไม่สามารถยืดออกเองได้ บางครั้ง ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยง้างนิ้วมือให้เหยียดออก ซึ่งจะได้ยินเสียง "กึ้ก" ซ้ำอีกครั้ง ข้อนิ้วมือก็จะยืดออกได้ แต่ผู้ป่วยจะมีความเจ็บปวด ที่โคนนิ้วมาก พบในผู้ป่วยวัยกลางคน เพศหญิงมากกว่าชาย โรคที่พบร่วมกับภาวะนี้บ่อย ได้แก่ เบาหวาน ในสตรีมีครรภ์ ทั้งก่อนและ หลังคลอด โรคข้อนิ้วติดอาจเกิดขึ้นกับนิ้วใด ๆ ก็ได้ และอาจเกิดพร้อมกันได้หลายนิ้ว
สาเหตุ=เชื้อว่าเกิดจากการใช้งานของนิ้วมือมาก และนานในท่ากำมือ และงอนิ้วมือ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นงอนิ้วมือ พบบ่อยในแม่บ้าน (ที่ซักผ้าติดต่อกันนาน) แม่ครัว (ที่ถือถุงหิ้วของ ใช้มีด จับด้ามกะทะ) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ใช้กรรไกร) ช่างไม้ ช่างยนต์ (จับค้อน ไขควง กุญแจเลื่อน) นักกีฬากอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส (จับด้ามไม้แน่น และนาน) ในสตรีมีครรภ์ เกิดจากการที่ปลอกหุ้มเอ็น และเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบวม น้ำจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ในขณะตั้งครรภ์
การป้องกัน=หลีกเลี่ยงการใช้งานของมือที่ต้องงอนิ้วมือ กำ บีบ หิ้วติดต่อกันเป็นเวลานา ๆ
การรักษา=หยุดการใช้งานของนิ้วมือที่เป็น โดยอาจใช้อุปกรณ์ดามข้อนิ้วมือไว้ชั่วระยะหนึ่ง รวมทั้งการรับประทานยาต้านการอักเสบ และใช้ยาทาภายนอก ทานวดที่บริเวณ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจทำการฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid) บริเวณรอบเส้นเอ็นในตำแหน่งที่อักเสบ โดยทั่วไปไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรทำการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวบริเวณโคนนิ้วมือ ให้เปิดออก ซึ่งจะทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวกไม่ติดยึดอีกต่อไป
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ตราหมอเส็ง - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยตราหมอเส็ง
http://morsengsiam.tarad.com/product.detail_918378_th_4882027