วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

นิ้วล็อค

นิ้วล็อค นิ้วล็อค

นิ้วล็อค ภัยเงียบที่คุณควรรู้

นิ้วล็อค

  มือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของมนุษย์ หน้าที่พื้นฐานของมือมี 3 ประการ คือ การเคลื่อนไหว (หยิบจับสิ่งของ และประกอบการงาน) การรับความรู้สึกและการสื่อสาร (ทักทาย ภาษามือ) ความผิดปกติ หรือโรคที่เกิดขึ้นกับมือ อาจไม่ส่งผลโดยตรง ต่อการดำรงอยู่ของร่มนุษย์างกายเท่ากับสมอง หัวใจ หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ แต่มือที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ ทำให้คุณภาพของการดำรงชีวิต ของลดลงไปอย่างมาก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติ และโรคทางมือที่พบบ่อย อาจช่วยให้ผู้อ่าน สามารถทำการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา หรือรักษาเบื้องต้น ภาวะผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้ได

โรคข้อนิ้วงอติด หรือข้อนิ้วล็อค (Trigger's finger)
 เป็นผลจากการอักเสบที่เกิดขึ้นระหว่างปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้วมือนั้น ๆ ทางด้านฝ่ามือ การอักเสบจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น จึงทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไปได้ไม่สะดวก เกิดการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือ ถ้ามีอาการมากขึ้นจะพบว่า เมื่องอนิ้วมือเข้ามาจนสุดแล้ว จะมีเสียงดัก "กึ้ก" แล้วนิ้วจะติดงออยู่อย่างนั้น ไม่สามารถยืดออกเองได้ บางครั้ง ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยง้างนิ้วมือให้เหยียดออก ซึ่งจะได้ยินเสียง "กึ้ก" ซ้ำอีกครั้ง ข้อนิ้วมือก็จะยืดออกได้ แต่ผู้ป่วยจะมีความเจ็บปวด ที่โคนนิ้วมาก พบในผู้ป่วยวัยกลางคน เพศหญิงมากกว่าชาย โรคที่พบร่วมกับภาวะนี้บ่อย ได้แก่ เบาหวาน ในสตรีมีครรภ์ ทั้งก่อนและ หลังคลอด โรคข้อนิ้วติดอาจเกิดขึ้นกับนิ้วใด ๆ ก็ได้ และอาจเกิดพร้อมกันได้หลายนิ้ว
สาเหตุ=เชื้อว่าเกิดจากการใช้งานของนิ้วมือมาก และนานในท่ากำมือ และงอนิ้วมือ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นงอนิ้วมือ พบบ่อยในแม่บ้าน (ที่ซักผ้าติดต่อกันนาน) แม่ครัว (ที่ถือถุงหิ้วของ ใช้มีด จับด้ามกะทะ) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า (ใช้กรรไกร) ช่างไม้ ช่างยนต์ (จับค้อน ไขควง กุญแจเลื่อน) นักกีฬากอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส (จับด้ามไม้แน่น และนาน) ในสตรีมีครรภ์ เกิดจากการที่ปลอกหุ้มเอ็น และเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบวม น้ำจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ในขณะตั้งครรภ์
การป้องกัน=หลีกเลี่ยงการใช้งานของมือที่ต้องงอนิ้วมือ กำ บีบ หิ้วติดต่อกันเป็นเวลานา ๆ
การรักษา=หยุดการใช้งานของนิ้วมือที่เป็น โดยอาจใช้อุปกรณ์ดามข้อนิ้วมือไว้ชั่วระยะหนึ่ง รวมทั้งการรับประทานยาต้านการอักเสบ และใช้ยาทาภายนอก ทานวดที่บริเวณ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจทำการฉีดยาสเตียรอยด์ (steroid) บริเวณรอบเส้นเอ็นในตำแหน่งที่อักเสบ โดยทั่วไปไม่ควรฉีดยาเกิน 2-3 ครั้ง ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรทำการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวบริเวณโคนนิ้วมือ ให้เปิดออก ซึ่งจะทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนที่ได้สะดวกไม่ติดยึดอีกต่อไป
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ตราหมอเส็ง - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยตราหมอเส็ง
http://morsengsiam.tarad.com/product.detail_918378_th_4882027

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น